http://www.tees-shirt.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 ติดต่อเรา

ขั้นตอนการสั่งผลิต

ตัวอย่างเสื้อโฆษณา

รายละเอียดเสื้อ

Myblog

 วิธีการชำระ

สถิติ

เปิดเว็บ20/04/2009
อัพเดท11/10/2018
ผู้เข้าชม1,691,454
เปิดเพจ2,757,081
สินค้าทั้งหมด106

สินค้า

สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
 เสื้อยืดเปล่าสีพื้น
 ผ้ายืดขายส่ง

เสื้อยืดสกรีนลายเท่ๆ

เสื้อยืดสกรีนโฆษณา

ชื้อขายและเช่า คอนโด บ้าน ร้านค้า

บริการลูกค้า

เกี่ยวกับโรงงานเสื้อยืด และ สกรีนเสื้อยืด

ความรู้เกี่ยวกับเสื้อ

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 1

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 1

สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการศึกษาเรื่องการจัดชื้อแบบมืออาชีพ

1

โดย ดร.ชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย

      การจัดซื้อจัดหา หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อของการจัดหา (Procurement) เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในโซ่อุปทาน สามารถมีอิทธิพลต่อความสำเร็จโดยรวมขององค์กรได้มาก สิ่งสำคัญของงานจัดซื้อจัดหาก็คือ จะต้องมีอุปทานของวัตถุดิบที่พอเพียง ในราคาที่เหมาะสม มีคุณภาพตามที่ต้องการ ในสถานที่ที่ถูกต้อง และในเวลาที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อโรงงานผลิตใดๆ ก็ตาม กระบวนการนี้มีความสำคัญมากที่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ องค์กรได้สร้างหน่วยงานและฝ่ายที่มีขนาดใหญ่ เพื่อจัดการกับธุรกรรมกับซัพพลายเออร์
      นอกเหนือจากการบริหารจำนวนซัพพลายเออร์แล้ว ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่พยายามจะเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ในอดีตแบบแข่งขันกับซัพพลายเออร์ มาสู่ความสัมพันธ์ที่เหมือนเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น ความสัมพันธ์รูปแบบนี้มุ่งเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน แม้ว่าทั้งสองฝ่ายต้องสร้างผลกำไรเพื่อจะอยู่รอดแต่ก็อาจมีส่วนต่างๆ ที่การร่วมมือกันจะทำให้ลดต้นทุนออกจากโซ่อุปทานได้
      วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดหา (กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และคนอื่นๆ, 2547)
          1. การจัดซื้อที่ดีนั้นสามารถเพิ่มผลกำไรให้แก่กิจการได้
          2. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในหน้าที่การจัดซื้อ
          3. ผลกระทบของการผลิตที่มีต่อการจัดซื้อ
          4. บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์
      พันธกิจของการจัดซื้อจัดหา คือ การให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ และการบริการ ที่ต้องการโดยฝ่ายผลิต ฝ่ายกระจายสินค้า และองค์กรบริการ ณ เวลาที่ถูกต้อง ราคาที่ถูกต้อง สถานที่ที่ถูกต้อง ปริมาณ และคุณภาพที่ถูกต้อง

ความคาดหวังขององค์กรที่มีต่อฝ่ายจัดซื้อจัดหา
      งานจัดซื้อมักถูกมองว่าเป็นงานแรกของกิจกรรมโลจิสติกส์ (logistics) รับผิดชอบให้บริการให้ตรงความต้องการของหน่วยผลิตหรือหน่วยงานภายในอื่นๆ ฝ่ายจัดซื้อจัดหาจะต้องสามารถค้นหาความต้องการเหล่านั้น การสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์และวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า

พัฒนาการของการจัดซื้อ
      งานจัดซื้อจัดหาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานธุรกิจ และมีวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป รูปแบบโครงสร้างองค์กรหรือการแบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็นฝ่ายหรือหน่วยงานต่างๆ ทำให้ภารกิจ และความรับผิดชอบเริ่มเด่นชัดมากขึ้น ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขามีมากขึ้น ความรู้ความสามารถที่สะสมจากประสบการณ์ทำให้แต่ละงานมีความซับซ้อนและท้าทายเพิ่มขึ้น งานจัดซื้อเป็นงานที่ได้แปรเปลี่ยนตามความสามารถในการผลิตสินค้าขององค์กร ความเชี่ยวชาญในการผลิตที่เพิ่มขึ้นและการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ทำให้เกิดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับภายนอกองค์กรหลายๆ กิจกรรม เช่น Outsource และ Subcontract
      เทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นได้ช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย (การพัฒนาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ) สามารถทำให้ลดระยะเวลาปฏิบัติงานที่เป็นกิจวัตรหรือสิ่งที่ต้องทำซ้ำๆ ส่งผลให้พนักงานมีเวลามากขึ้น (เทียบเวลาที่ใช้ต่องาน 1 ชิ้นหรือ 1 transaction) และบุคลากรสามารถแสดงบทบาทที่สร้างคุณค่าได้มากขึ้น (value-added tasks) เช่น สามารถวิเคราะห์เนื้องานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพิ่มทักษะและประสบการณ์ ฯลฯ
      นอกจากนี้ การจัดหานั้นไม่ได้เกี่ยวกับแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว การจัดหานั้นยังอาจต้องจัดหาปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น
          • สาธารณูปโภค – ก๊าซ น้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์
          • เชื้อเพลิง – ดีเซล, เบนซิน และน้ำมันเชื้อเพลิง
          • สินทรัพย์ – เครื่องจักร พาหนะ และอาคาร
          • การเดินทางและโรงแรมที่พักสำหรับองค์กร
          • วัสดุ อุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ ในโรงงานและสำนักงาน
          • บริการที่จัดจ้างออกไปภายนอก – การกระจายสินค้า บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษา ฯลฯ
          • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ – ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และการบริการสนับสนุน
     แต่ละบริษัทจะมีการใช้ต้นทุนที่จุดต่างๆ ตามองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับธุรกิจขององค์กรสำหรับบริษัทขนส่ง เชื้อเพลิงอาจจะใช้งบประมาณถึง 35 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณรวมสำหรับปฏิบัติการ แต่สำหรับโรงงานผลิต ต้นทุนส่วนหลักอาจจะเป็นต้นทุนในการบริหารโรงงาน ต้นทุนเหล่านี้จะต้องถูกจัดการอย่างระมัดระวัง แต่ขั้นตอนแรกคือการพิจารณาเป้าหมายในการจัดซื้อ

การเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิต
      เมื่อสมัย ค.ศ. 1890-1920 การบริหารการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง การเจริญเติบโตขององค์กรธุรกิจ ปริมาณที่จัดซื้อจัดหา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การควบคุมอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการกระจายพลังงาน และใช้เสริมกับโครงสร้างวิศวกรรมขนาดใหญ่ นำไปสู่โรงงานและสถานประกอบการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
      เมื่อความซับซ้อนของเทคโนโลยีการผลิตมีมากขึ้น หัวหน้างานเพียงไม่กี่คนจะไม่สามารถประสานงานที่รายละเอียดมากขึ้นในระบบการผลิตขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น พนักงานสายสนับสนุนต่างๆ ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในสถานประกอบการและโรงงาน อาทิ เจ้าหน้าที่งานเอกสาร นักบัญชี เจ้าหน้าที่วางแผน เจ้าหน้าที่จัดซื้อ ผู้ควบคุมกระบวนการ (วิศวกร) เพื่อให้แต่ละงานสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะตำแหน่งงานเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป
      การปรับปรุงผลผลิตและการลดต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ ผู้บริหารเริ่มให้ความสนใจในงานจัดซื้อมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ และการประเมินซัพพลายเออร์

บทบาทที่มีมากขึ้นของการจัดซื้อจัดหา
     บทบาทของการจัดซื้อในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า องค์กรธุรกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้เป็นเจ้าของ องค์กรจะไม่สามารถเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้ดีไปกว่าบริการที่ได้รับจากซัพพลายเออร์ ซึ่งถ้าหากซัพพลายเออร์และวัตถุดิบมีปัญหาด้านคุณภาพ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อลูกค้า รวมทั้งเพิ่มต้นทุนขององค์กรในความพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เช่น ต้องมีต้นทุนในการจัดเก็บวัตถุดิบมากขึ้น
     บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการจัดซื้อจัดหา เช่น การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบ เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายโดยรวมขององค์กร การเข้าถึงแหล่งซื้อใหม่ๆ วัตถุดิบชนิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แหล่งอุปทานใหม่ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การพัฒนาซัพพลายเออร์ และการบริหารความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างองค์กรมีความสำคัญต่อรูปแบบการแข่งขัน พันธมิตร


รูปที่ 1 ความเชื่อมโยงของงานจัดซื้อกับงานอื่นๆ

     ประเภทของการจัดซื้อ (Categories)
        • ส่วนประกอบของสินค้า (components)
        • วัตถุดิบ (raw materials)
        • สินค้าที่ใช้ในการดำเนินงาน (operating supplies)
        • อุปกรณ์สนับสนุน (supporting equipment)
        • อุปกรณ์ดำเนินการ (process equipment)
        • บริการ (services)
     ชื่อเรียกต่างๆ ของการจัดซื้อจัดหา ที่ได้รับอิทธิพลจากความต้องการดำเนินงานลักษณะต่างๆ กัน
        • การจัดซื้อจัดหา (Procurement sourcing) เสาะหาวัสดุให้ได้ตามความต้องการพื้นฐาน
        • การจัดหากลยุทธ์ (Strategic sourcing) จัดหาวัสดุเพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น
        • การจัดการพัสดุ (Supply management) บริหารเฉพาะวัสดุ อุปทาน
        • การจัดการซัพพลายเออร์ (Supplier management) บริหารจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์
     หน้าที่อื่นๆ ของฝ่ายจัดซื้อจัดหา
        • ระบุแหล่งอุปทาน Identifying sources of supply
        • ต่อรองสัญญา Negotiating contracts
        • รักษาฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ Maintaining a database of suppliers
        • ได้รับสินค้าและบริการ Obtaining goods and services
        • บริหารจัดการสิ่งที่จะส่งเข้า Managing supplies

การกำหนดเป้าหมายของการจัดหา
      เมื่อกำหนดเป้าหมายของการจัดหา ต้องพิจารณาเรื่องต่อไปนี้:
         • ความพร้อมของอุปทานของวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆ
         • การจัดการสินค้าคงคลังผ่านซัพพลายเออร์ (VMI)
         • คุณภาพของอุปทาน
         • รายละเอียดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
         • ราคา
         • แหล่งที่มาของอุปทาน
         • วิธีการอุปทาน เช่น การจัดส่งแบบทันเวลาพอดี
         • วิธีการขนส่งที่เลือกใช้
         • ลำดับชั้นของความสำคัญ เช่น วัตถุดิบจะมีความสำคัญเหนือกว่าเครื่องเขียนสำหรับสำนักงาน
         • การพิจารณาตัดสินใจว่าจะผลิตเองหรือจะซื้อจากซัพพลายเออร์

สรุปความสำคัญของฝ่ายจัดซื้อจัดหา
      ฝ่ายจัดซื้อจัดหาถือเป็นศูนย์ต้นทุนหลัก (cost center) ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีการผลิต (manufacturing) สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (ทำให้สูงกว่าที่กำหนด) ช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ การตอบสนอง และการสร้างความแตกต่าง

ที่มา หลักสูตรการบริหารการจัดซื้อ
       โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects 
       จัดทำโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สสว.)

     เครดิด   http://www.logisticscorner.com/

Tags : การจัดซื้อ เสื้อยืด

view

บริการ

หน้าแรก
กระเป๋าขายส่ง
แผนที่ร้าน
รายละเอียดเสื้อ
โรงงานเสื้อยืด
โปรแกรมแยกสี
view