http://www.tees-shirt.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 ติดต่อเรา

ขั้นตอนการสั่งผลิต

ตัวอย่างเสื้อโฆษณา

รายละเอียดเสื้อ

Myblog

 วิธีการชำระ

สถิติ

เปิดเว็บ20/04/2009
อัพเดท11/10/2018
ผู้เข้าชม1,691,391
เปิดเพจ2,757,016
สินค้าทั้งหมด106

สินค้า

สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
 เสื้อยืดเปล่าสีพื้น
 ผ้ายืดขายส่ง

เสื้อยืดสกรีนลายเท่ๆ

เสื้อยืดสกรีนโฆษณา

ชื้อขายและเช่า คอนโด บ้าน ร้านค้า

บริการลูกค้า

เกี่ยวกับโรงงานเสื้อยืด และ สกรีนเสื้อยืด

ความรู้เกี่ยวกับเสื้อ

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 2

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 2

โดย ดร.ชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย

กระบวนการจัดซื้อจัดหา
ขั้นตอนการจัดซื้อ

     1. ค้นหาและกำหนดความต้องการสินค้า (คำขอซื้อ)
     2. กำหนดวิธีการจัดซื้อ ขั้นตอนและระดับการอนุมัติให้จัดซื้อ
     3. ให้ซัพพลายเออร์ต่างๆ เสนอราคา
     4. ประเมินใบเสนอราคา และคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่ดีที่สุด
     5. ขออนุมัติจัดซื้อ
     6. รับมอบสินค้าจากซัพพลายเออร์ (ตรวจสอบคุณภาพ ปริมาณ ความตรงต่อเวลา)
     7. ส่งมอบให้ผู้ใช้สินค้า


รูปที่ 1 ขั้นตอนของการจัดซื้อจัดหา

กระบวนการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (fulfillment)
     กระบวนการจัดซื้อ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า (order fulfillment) เนื่องจากเป็นความพยายามร่วมกันขององค์กรที่จะตอบสนองต่อลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้า และวันเวลาที่ต้องการ เป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนกระบวนการ ส่งผลต่อแผนของการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่งสินค้า จะบูรณาการร่วมกัน การร่วมมือกับพันธมิตรที่สำคัญ เพื่อสามารถส่งมอบได้ตรงตามความต้องการ และลดต้นทุนตั้งแต่ผลิตจนถึงส่งมอบ

การวินิจฉัยเพื่อปรับปรุงกิจกรรมโลจิสติกส์ (ด้านจัดซื้อ)
    1. ได้กำหนดมาตรฐานการสั่งซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจนหรือไม่
    2. กำหนดเวลาที่ชัดเจนในการรับสินค้าเข้ามายังหน่วยงานเป้าหมายหรือไม่
    3. การขนถ่ายสินค้าและวัตถุดิบ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยหรือไม่ เช่น ไม่มีการกระแทก
    4. มีการตรวจสอบสินค้าอย่างละเอียดในขณะที่นำส่งวัตถุดิบหรือไม่ ใช้วิธีการและระยะเวลาเท่าไรในการตรวจสอบสินค้า
    5. ในการขนถ่ายสินค้า มีการใช้แรงงานพนักงานหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
    6. ระยะเวลาในการจอดรถบรรทุกเพื่อรอส่งสินค้านานเท่าไร
    7. เจ้าหน้าที่จัดซื้อรับทราบข้อมูลการส่งสินค้าที่แท้จริงของซัพพลายเออร์ (supplier) หรือไม่
    8. บริเวณพื้นที่สำหรับรับและส่งสินค้ามีความเหมาะสมเพียงใด เช่น รับสภาพฝนตกได้หรือไม่
    9. พนักงานผู้ตรวจรับสินค้า มีเวลาว่างมากน้อยเพียงใด
    10. วัตถุดิบคงเหลือในคลังสินค้า (ชนิดนั้นๆ) มีปริมาณมากน้อยเท่าใด

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการส่งมอบงานของแต่ละหน่วยงานในองค์กร
    ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing)
       • สิ่งที่ส่งมอบ Deliverables
       • วัสดุอะไร What (item)
       • จากที่ไหน From (supplier)
       • ส่งสถานที่ใด Where (warehouse)
       • ส่งเมื่อใด When (receive)
       • ปริมาณเท่าไร Quantity
    ฝ่ายผลิต (Manufacturing)
       • วัสดุอะไร What (item)
       • ผลิตที่ใด Where (plant)
       • ผลิตอย่างไร How (method)
       • เมื่อ When (manufacture)
       • ปริมาณ (Quantity)
       • ล่วงเวลา (Over Time)
    ฝ่ายกระจายสินค้า (Distribution)
       • ส่งมอบจากที่ใด Ship from (Plant, DC)
       • ส่งไปที่ใด Ship to (DC, Customer)
       • ส่งอย่างไร How (transportation method)
       • ส่งเมื่อใด When (dispatch)
       • ระดับสต๊อก (Stock levels)
    ฝ่ายขาย (Sales)
      • ยอมรับหรือปฏิเสธ Accept or reject (sales order, forecast order)
      • สัญญาได้ Available to Promise (ATP)
      • สามารถสัญญาได้ Capable to Promise (CTP)
      • การส่งมอบ Delivery (full, partial)
      • คำสั่งซื้อตกค้าง (Back orders)
      • เพิ่มกำไร (maximize profit)

     ตัวอย่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานในฝ่ายต่างๆ : การบริหารวัสดุ (materials management) การจัดซื้อและการจัดหา / การควบคุมการผลิต / โลจิสติกส์ขาเข้า / คลังสินค้าและการจัดเก็บ / ข้อมูล และระบบสารสนเทศ / การวางแผนและควบคุมคลังสินค้า / การพยากรณ์ / การกำจัดวัสดุ

การระบุบ่งชี้ความต้องการของการจัดซื้อจัดหา
     กำหนดความต้องการผลิตภัณฑ์ (Specifications ของผลิตภัณฑ์)
       • ความต้องการ
       • คำขอซื้อ ขั้นตอนขอซื้อ
       • ลักษณะเฉพาะพิเศษ
     กำหนดความต้องการเชิงกระบวนการ (เงื่อนไขในการทำงาน)
       • สิ่งที่ส่งผลต่อการทำงานภายในองค์กร
       • ข้อจำกัดในการทำงาน (เช่น ปริมาณผลิต พื้นที่จัดเก็บ ช่วงเวลาทำงาน ฯลฯ)
       • ความต้องการเฉพาะของหน่วยงาน
    นิยามของคุณภาพ (Definitions of Quality)
       • เป็นไปตามข้อกำหนด (Conformance)
       • สวยงาม (Aesthetics)
       • ทนทาน (Durability)
       • สมรรถนะในวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ (Performance)
       • ความเชื่อมั่น (Reliability)
       • คุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากคุณสมบัติพื้นฐาน (Features)
       • การบริการ (Serviceability)
       • คุณภาพที่รับรู้ (Perceived quality) ลูกค้ามีความประทับใจที่เกิดขึ้นจากชื่อเสียงที่สะสม


ที่มา หลักสูตรการบริหารการจัดซื้อ
       โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects 
       จัดทำโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สสว.
)

Tags : การจัดซื้อ เสื้อยืด

view

บริการ

หน้าแรก
กระเป๋าขายส่ง
แผนที่ร้าน
รายละเอียดเสื้อ
โรงงานเสื้อยืด
โปรแกรมแยกสี
view