http://www.tees-shirt.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 ติดต่อเรา

ขั้นตอนการสั่งผลิต

ตัวอย่างเสื้อโฆษณา

รายละเอียดเสื้อ

Myblog

 วิธีการชำระ

สถิติ

เปิดเว็บ20/04/2009
อัพเดท11/10/2018
ผู้เข้าชม1,694,125
เปิดเพจ2,760,070
สินค้าทั้งหมด106

สินค้า

สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
 เสื้อยืดเปล่าสีพื้น
 ผ้ายืดขายส่ง

เสื้อยืดสกรีนลายเท่ๆ

เสื้อยืดสกรีนโฆษณา

ชื้อขายและเช่า คอนโด บ้าน ร้านค้า

บริการลูกค้า

เกี่ยวกับโรงงานเสื้อยืด และ สกรีนเสื้อยืด

ความรู้เกี่ยวกับเสื้อ

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 3

การบริหารการจัดซื้อ ตอนที่ 3

โดย ดร.ชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย

    ระดับของคุณภาพในโมเดลของคาโน (Kano’s quality model)
    1. สิ่งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจ (Dissatisfy)
        คุณลักษณะทางคุณภาพที่ลูกค้าไม่ให้ความสนใจ แต่ถ้าขาดหายไป ลูกค้าจะไม่พอใจในทันทีลูกค้ามักไม่เอ่ยถึง แต่คาดหวังว่าจะต้องมีในผลิตภัณฑ์ เช่น ความเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์ คู่มือการใช้ความน่าเชื่อถือ จัดเป็นสมรรถนะพื้นฐานที่ต้องมีอยู่ในผลิตภัณฑ์
    2. สิ่งที่ทำให้ลูกค้าพอใจ (Satisfy)
        เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้มีในผลิตภัณฑ์ ถ้ามีมากขึ้น ลูกค้าเกิดความพอใจมากขึ้น เช่น ความเร็วสูงขึ้น การใช้งานง่ายขึ้น ความจุมากขึ้น สิ่งที่ทำให้ลูกค้าพอใจเป็นคุณลักษณะที่วัดได้ง่าย จึงเป็นสิ่งที่นิยมใช้ในการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่ง
    3. สิ่งที่ทำให้ลูกค้าดีใจ (Delight)
        เป็นคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ลูกค้ายินดี ด้วยความประหลาดใจ เป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่สามารถเอ่ยถึงได้ เพราะอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ถ้าคุณสมบัติเหล่านี้ขาดหายไป ลูกค้าจะไม่เกิดความรู้สึกในทางลบแต่อย่างใด เช่น ที่วางแก้วในรถยนต์ ฟิลม์กรองแสงในรถยนต์ อุปกรณ์เสริม เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “ความต้องการแฝง” ถ้ามีมากขึ้น ลูกค้าจะเพิ่มความคาดหวังมากขึ้น การทำให้ลูกค้าดีใจจะเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ส่งผลให้การตอบสนองความต้องการพื้นฐานยากขึ้นด้วย
    การเพิ่มกำไร
       • การขึ้นราคา
       • การเพิ่มปริมาณการขาย
       • การลดต้นทุน
    ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากความสูญเปล่า
       • ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดี
       • ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดี
       • ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการจัดการหรือควบคุมที่ไม่ดี
       • ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากสินค้าคงคลัง
       • ต้นทุนที่สามารถบริหารจัดการด้วยการจัดซื้อ
    ตัวอย่างของการตัดสินใจจัดซื้อ ก.
        กำหนดให้โรงงานแห่งหนึ่งมีอัตราการใช้วัตถุดิบ ก. ด้วยปริมาณ 1,200 ชิ้นต่อวัน โรงงานทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ซัพพลายเออร์สามารถทำการส่งสินค้า (วัตถุดิบ ก.) ให้ได้ภายใน 4 วันนับจากวันที่สั่ง อยากทราบว่าโรงงานแห่งนี้ควรจะมีปริมาณวัตถุดิบ ก. ในคลังสินค้าจำนวนเท่าไร และระดับในการสั่งซื้อควรอยู่ที่เท่าไร และถ้าซัพพลายเออร์ (Supplier) สามารถส่งสินค้าได้เพียงเดือนละ 2 ครั้ง เนื่องจากมีระยะทางไกล ควรจะสั่งครั้งละเท่าไร
    ตัวอย่างของการตัดสินใจจัดซื้อ ข.
       โรงงานผลิตขนม ซุปเปอร์แสน็ก จำกัด (Super Snack Co., Ltd.) ต้องการใช้วัตถุดิบหลักคือแป้ง จำนวน 400 กิโลกรัม สำหรับการผลิตแต่ละเดือน (เฉลี่ยสัปดาห์ละ 100 กก. หรือ วันละ 20 กก.) ซื้อแป้งจากโรงงานสมุทรปราการ ขายให้กิโลกรัมละ 50 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการสั่งสินค้าครั้งละ500 บาท (ค่าขนส่ง + ค่าโทรศัพท์ + ค่าเอกสารอื่นๆ) ใช้เวลาในการสั่งสินค้าล่วงหน้า 5 วันถ้าโรงงานแป้งที่ดาวคะนอง เสนอราคากิโลกรัมละ 55 บาท สั่งล่วงหน้าได้ 2 วัน ค่าใช้จ่ายครั้งละ 200 บาท ควรจะสั่งซื้อจากโรงงานใด
    หลักการผลิตและส่งมอบในเวลา (Just In Time)
     ความหมาย = ทันเวลาพอดี ค้นคิดและพัฒนาโดยบริษัท TOYOTA ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างที่ปรับปรุงกระบวนการผลิต วิศวกรการผลิต Mr. T. Ohno ได้ค้นพบว่า การผลิตครั้งละน้อยๆชิ้น มีของเสียน้อยกว่าการผลิตครั้งละมากๆ เมื่อค้นหาสาเหตุ จึงพบว่า การผลิตครั้งละมากๆ เป็นเพียงการปิดบังความบกพร่องของการผลิต เช่น ปัญหาคอขวด (Bottleneck), การสั่งซื้อที่ไม่สอดคล้องกับการผลิต, การผลิตสิ่งที่ไม่ต้องการ ฯลฯ รวมทั้งความรู้สึกที่ไม่อยากพัฒนา Mr. Ohno จึงได้พยายามค่อยๆลดปริมาณที่ผลิตต่อครั้งลง (Reduce Lot Size) ผลดีที่ได้ก็คือ
       • มีการผลิตเท่าที่จำเป็น
       • แสดงจุดที่เป็นปัญหาในการผลิต
       • เร่งรัดการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
       • ลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิต เนื่องจากมีการตรวจสอบมากขึ้น
       • ลดระดับปริมาณสินค้าที่ต้องกักตุน
       • เกิดการปรับจังหวะในการผลิตให้ราบรื่น
       • เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานในการผลิตมากขึ้น
       • เกิดระบบ Quality Circle ลดหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
       • ฯลฯ
   สาเหตุที่ต้องมีการจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในโรงงาน
       • การผลิตแบบเป็นช่วงๆ การปรับปริมาณการผลิต
       • ปริมาณที่ต้องเก็บไว้ขั้นต่ำ (safety stock)
       • การเสียหายสูญหายที่อาจเกิดขึ้น
       • นโยบายปรับปรุง
       • วิเคราะห์แบบพาเรโต (Pareto analysis) โดยมุ่งเน้น 20% ของชิ้นส่วนที่คิดเป็นมูลค่า 80% ของทั้งหมด
       • การวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรม (Activity-Based Costing)
       • การนำส่งสินค้าแบบ Just In Time เฉพาะที่มีราคาแพงหรือขนาดใหญ่
       • การติดตามและบริหารซัพพลายเออร์
    ความพร้อมของอุปทานของวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆ
    ถ้าการไหลของวัตถุดิบที่เข้าสู่โรงงานผลิตไม่มีความแน่นอนจะมีปัญหาเกิดขึ้น ปัญหาเหล่านี้อาจมาจากการผลิตที่หยุดชะงัก ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ถ้าโรงงาน เครื่องจักร และแรงงานที่มีต้นทุนสูงว่างงาน ต้นทุนต่างๆ อาจเพิ่มขึ้นอย่างมากได้ นอกจากต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว ลูกค้ายังอาจต้องผิดหวังด้วยเมื่อไม่มีสินค้าพร้อมจัดส่งในเวลาที่เหมาะสม เมื่อคำนึงถึงทั้งหมดนี้แล้ว การจัดการการจัดหา อาจประยุกต์ใช้นโยบายบางอย่างเพื่อให้แน่ใจได้ว่าอุปทานจะพร้อมเสมออย่างถูกที่และถูกเวลา:
       • บริษัทผู้ผลิตอาจซื้อบริษัทที่อุปทานสินค้าให้ (ซัพพลายเออร์) วิธีการแบบนี้เคยเป็นที่นิยมมากในองค์กรที่บูรณาการในแนวดิ่ง (vertical integration หรือ ขยายขอบเขตธุรกิจย้อนขึ้นไปสู่ทางต้นน้ำ)
       • อาจมีการถือครองสินค้าคงคลังสำรองที่โรงงานผลิตเพื่อรองรับความไม่แน่นอน สินค้าคงคลังเหล่านี้จะสร้างต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลัง
       • ผู้ผลิตอาจขอให้ซัพพลายเออร์มาตั้งศูนย์ในสถานที่ข้างๆ หรือใกล้ๆ กับโรงงาน
       • เมื่อพิจารณาโภคภัณฑ์อย่างเช่นข้าวสาลีหรือน้ำมันดิบ อาจมีทางเลือกหนึ่งในการเจรจาซื้อล่วงหน้าได้
       • ผู้ผลิตอาจสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ได้ เช่น ระบบที่ซัพพลายเออร์รับประกันคุณภาพหรือซัพพลายเออร์ที่จัดการสินค้าคงคลังให้ลูกค้า (Vendor-Managed Inventory: VMI)


ที่มา หลักสูตรการบริหารการจัดซื้อ
       โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects 
       จัดทำโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สสว.)

Tags : การจัดซื้อ เสื้อยืด

view

บริการ

หน้าแรก
กระเป๋าขายส่ง
แผนที่ร้าน
รายละเอียดเสื้อ
โรงงานเสื้อยืด
โปรแกรมแยกสี
view