http://www.tees-shirt.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 ติดต่อเรา

ขั้นตอนการสั่งผลิต

ตัวอย่างเสื้อโฆษณา

รายละเอียดเสื้อ

Myblog

 วิธีการชำระ

สถิติ

เปิดเว็บ20/04/2009
อัพเดท11/10/2018
ผู้เข้าชม1,690,298
เปิดเพจ2,755,107
สินค้าทั้งหมด106

สินค้า

สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
 เสื้อยืดเปล่าสีพื้น
 ผ้ายืดขายส่ง

เสื้อยืดสกรีนลายเท่ๆ

เสื้อยืดสกรีนโฆษณา

ชื้อขายและเช่า คอนโด บ้าน ร้านค้า

บริการลูกค้า

เกี่ยวกับโรงงานเสื้อยืด และ สกรีนเสื้อยืด

ความรู้เกี่ยวกับเสื้อ

ชนิดของเนื้อผ้า

เนื้อผ้าสำหรับเสื้อคอปกและเสื้อยืด (POLO & T-SHIRT)

ลักษณะของเนื้อผ้าสำหรับเสื้อโปโลและเสื้อยืด ที่นิยมใช้กัน มี 3 ชนิด ดังนี้

       เนื้อผ้า     ความยืดหยุ่น   การระบายอากาศ
1. Cotton 100% (ผ้าฝ้าย)      สูงมาก         สูงมาก
2. TC ( Cotton ผสม Polyester )      ปานกลาง         ปานกลาง
3. TK ( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ )        พอใช้         พอใช้

 

 1.  Cotton 100% (ผ้าฝ้าย)

            Cotton เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% ผลิตจากฝ้ายสวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย

          ข้อดี            ข้อเสีย
1.      สวมใส่สบาย ระบายอากาศดีมาก 1.      ผ้าต้องหดตัวเมื่อผ่านการซักครั้งแรก
2.      ผ้านุ่มเนียนสวย 2.      ราคาสูงกว่าผ้า TC และ TK
3.      การดูดซับน้ำดี 3.      ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพผ้าและร้านขาย

 


 ประเภทเส้นใย Cotton จะแบ่งตามลักษณะได้ดังนี้

1.1    Cotton OE  เป็นผ้า Cotton เกรดต่ำสุด ลักษณะของผ้าจะมีความกระด้างมากกว่าผ้า Cotton ชนิดอื่นๆ

1.2    Cotton Semi เป็นผ้า Cotton เกรดปานกลาง ผ้าจะมีความเนียน ณ ระดับหนึ่ง ไม่กระด้าง ราคาไม่สูง และ คุณภาพค่อนข้างใช้ได้

1.3    Cotton Comb เป็นผ้า Cotton เกรดดีที่สุด ลักษณะผ้าจะมีความเนียนและเงามาก ราคาสูงมากกว่าCottonเกรดอื่น  

ขนาดเส้นด้าย
ที่นิยมนำมาทอผ้า Cotton มีดังนี้

1.1    Cotton No.20  เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ผ้าที่ทอได้จึงหนาพอสมควร

1.2    Cotton No.32  เส้นด้ายจะมีขนาดเล็ก ผ้าที่ทอได้จะเนียนและบาง

1.3    Cotton No.40  เส้นด้ายมีขนาดเล็กที่สุด ผ้าที่ทอจึงเนียนมาก และบางมาก จึงต้องทอเป็นเส้นคู่ และราคาจะค่อนข้างสูง



2. 
TC (Cotton ผสม Polyester)

            เป็นเส้นใยผสมระหว่าง Cotton  และ Polyester ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรูเนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้าจึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้าจะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK)

             ข้อดี              ข้อเสีย
1.      สวมใส่สบาย ระบายอากาศดีพอใช้ 1.      ผ้ามีการย้วยบ้างเมื่อผ่านการซัก
2.      การดูดซับน้ำดีพอใช้ 2.      ผ้าจะไม่เนียนสวยเท่า Cotton
  3.      ราคาขึ้นอยู่กับสีผ้า


 ขนาดเส้นด้าย  ที่นิยมนำมาทอผ้า TC มีดังนี้

1.1   TC No.20  เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ใช้ทอได้ทั้งผ้าเรียบและผ้าจูติ

1.2   TC No.34  เส้นด้ายจะมีขนาดเล็กมาก ใช้ทอผ้าจูติ จึงต้องทอเป็นเส้นคู่

 
3.  TK (Polyester หรือ ใยสังเคราะห์)

            เป็นเส้นใยสังเคราะห์ผลิตจาก Polyester  ผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK  เนื้อผ้าจะมีลักษณะมัน คุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตก
แต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อน เนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด


                ข้อดี                ข้อเสีย
1.        ราคาถูก 1.        ผ้าจะเป็นเม็ดเมื่อผ่านการซัก
2.      ทนทาน 2.      เนื้อผ้ากระด้าง ระบายอากาศไม่ดี
3.        หาซื้อง่ายตามท้องตลาด 3.        ไม่ดูดซับน้ำ

 เส้นด้าย ที่นิยมนำมาทอผ้า TK มีดังนี้

 

1.1   TK No.20  เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ใช้ทอได้ทั้งผ้าเรียบและผ้าจูติ



ลักษณะการทอมีอยู่ 2 แบบ

  • แบบเนื้อ Lacoste หรือ เนื้อ Juti < จุติ>
    • ทอแบบ Juti รูจะเป็นรูปรังผึ้ง
    • ทอแบบ Lacoste รูจะเป็นรูปข้าวหลามตัดเล็กๆ
  • แบบเนื้อเรียบ

ความเหมาะสมในการเลือกใช้

เนื้อผ้า

ความเหมาะสม

Cotton 100% (ผ้าฝ้ายธรรมชาติ)


เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้ในที่กลางแจ้งและโดนแดดบ่อยๆ
เพราะผ้าจะระบายอากาศได้ดีไม่ค่อย อมเหงื่อ
หรือต้องการความหรูหราใส่สบายแต่ราคาอาจจะสูงซักนิดนึง

TC ( Cotton ผสม Polyester )


เหมาะกับคนที่เหงื่อออกง่ายแม้ทำงานอยู่ในห้องแอร์
เพราะระบายอากาศได้ดีพอสมควรและข้อดีที่โดดเด่นกว่า Cotton 100% คือ อยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย (ส่วน Cotton จะคุม % ความหดและย้วยลำบาก)

TK ( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ )


เหมาะที่จะใช้ในห้องแอร์ ไม่ค่อยโดนแดด





ข้อมูลเชิงลึกของผ้า


 

ผ้า (Fabrics)

โดยนิยามแล้วผ้าคือวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน เมื่อแบ่งแยกตามลักษณะการผลิต สามารถแบ่งประเภทของผ้าออกเป็น 3 แบบ คือ ผ้าทอ (woven fabrics) ผ้าถัก (knitted fabrics) และ ผ้าอื่น ๆ


ผ้าทอประกอบด้วยด้ายและเส้นใย

ผ้าทอ (woven fabrics)

เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอโดยใช้เครื่องทอ (weaving loom) โดยมีเส้นยืน (warp yarn) และเส้นพุ่ง (filling or weft yarn) ที่ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน และจุดที่เส้นทั้งสองสอดประสานกัน (interlacing) จะเป็นจุดที่เส้นด้ายเปลี่ยนตำแหน่งจากด้านหนึ่งของผ้าไปด้านตรงข้าม การทอในปัจจุบันมีการพัฒนา จากการทอด้วยมือ (hand looms) ไปเป็นการใช้เครื่องจักรในการทอ โดยใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกัน เช่น Air-jet loom, Rapier loom, Water-jet loom, Projectile loom, Double-width loom, Multiple-shed loom, Circular loom, Triaxial loom

ประเภทของผ้าทอ
ผ้าทอแบ่งเป็นหลายชนิดขึ้นกับลักษณะการทอ เช่น Plain, Basket, Twill, Satin, Crepe, Dobby, Jacquard, Doublecloth, Pile, Slack-tension, Leno, และ Swivel

ผ้าถัก (knitted fabrics)



ประเภทของผ้าถัก
Filling-Knit fabrics เช่น Jersey, Rib structure, Iเป็นผ้าที่เกิดจากการใช้เข็ม (needles) ถักเพื่อให้เกิดเป็นห่วงของด้ายที่มีการสอดขัดกัน (interlocking loops) โดยจะมีเส้นที่อยู่แนวตั้ง (Wales) และเส้นที่อยู่ในแนวนอน (courses) nterlock structure, Purl knits
Warp knit fabrics เช่น tricot warp knit, Raschel warp knit, Simplex, Milanese


ผ้าอื่นๆ

เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตอื่นที่นอกเหนือไปจากการถักและทอ เช่นการขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มทั้งจากสารละลายและจากการฉีดพลาสติกหลอม การขึ้นรูปเป็นโฟม และการขึ้นรูปเป็นผ้าจากเส้นใยโดยตรง เรียกว่า ผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwovens)

ผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwovens)
มีลักษณะโครงสร้างเป็นแผ่นผ้าที่เกิดจากการสานไปมาของเส้นใย (fibrous web) มีการยึดกันด้วยการ ที่เส้นใยพันกันไปมา (mechanical entaglement) หรือโดยการใช้ความร้อน เรซิน หรือสารเคมีในการทำให้ เกิดการยึดกันระหว่างเส้นใย ผ้าไม่ถักไม่ทอสามารถผลิตได้โดยหลายกระบวนการผลิตคือ

Dry-laid:
โดยการใช้ลมพ่นเส้นใยลงบนสายพานที่กำลังเคลื่อนตัวไป โดยการเรียงตัวของเส้นใยจะไม่มีทิศทาง (random oriented) ทำให้มีความแข็งแรงเท่ากันในทุกทิศทาง ตัวอย่างผ้าที่ได้จากการผลิตโดยกระบวนการนี้คือ ผ้าเช็ดเอนกประสงค์ กระดาษแยกช่องแบตเตอรี่ (battery separators) ไส้กรอง (filters) เป็นต้น

Wet-laid:
โดยการกระจายเส้นใยสั้นในน้ำ แล้วทำการกรองผ่านเพื่อแยกน้ำออกจากเส้นใย ที่มีการเรียงตัวในทุกทิศทาง ตัวอย่างผ้าที่ได้จากการผลิตโดยกระบวนการนี้คือ ไส้กรอง ไส้ฉนวน ผ้าเช็ดเอนกประสงค์ และกระดาษแยกช่องแบตเตอรี่

Spun-bonded:
เป็นการเตรียมผ้าโดยตรงจากเส้นใยที่ถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดเส้นใย (spinnerets) เส้นใยต่อเนื่อง (continuous filament) ที่กำลังร้อนก็จะถูกฉีดสานไปมาบนสายพานที่กำลังหมุนอยู่ เส้นใย ที่เย็นตัวลงจะมีการเชื่อมติดตรงจุดที่มีการพาดผ่านระหว่างเส้นใยด้วยกัน การเชื่อมติดอาจทำเพิ่มเติม โดยการใช้ความร้อนและแรงกด นอนวูฟเวนที่ได้จากการผลิตโดยวิธีนี้จะมีค่าการทนต่อแรงดึงและแรงฉีก และบาง
(low bulk) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ พื้นพรม (carpet backing) ผ้าที่ใช้ในงานธรณี (geotextiles) เสื้อผ้าป้องกัน (protective apparel) ไส้กรอง เป็นต้น


Hydroentangled หรือ spunlace:
กระบวนการผลิตคล้ายกับการผลิตนอนวูฟเวนแบบ spun-bond ยกเว้นใช้น้ำแรงดันสูงฉีดผ่านโครงสร้างที่สานไปมาของเส้นใย ทำให้เกิดโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายผ้าทอ ผ้าที่ได้จะมีความยืดหยุ่น (elasticity) และโค้งงอ (flexibility) มากกว่า spun bond

Melt-blown:
เป็นการฉีดเส้นใยผ่านหัวฉีดไปยังอากาศร้อนที่มีความเร็วสูง ทำให้เส้นใยเกิดการขาด เป็นเส้นใยสั้นๆ ซึ่งจะถูกเก็บลงบนสายพานที่เคลื่อนที่ การยึดติดเกิดจากการสานไปมาของเส้นใย และการใช้ความร้อน เนื่องจากเส้นใยไม่ได้ผ่านการดึงยืดก่อน ผ้าที่ได้จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าชนิดอื่น เส้นใยที่ใช้เทคนิคการผลิตนี้มากคือเส้นใยโอเลฟินและโพลีเอสเทอร์ (Olefin and polyester fibers) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการแพทย์ และกระดาษแยกช่องแบตเตอรี่

Needle punching: เป็นการเตรียมแผ่นนอนวูฟเวนโดยเทคนิค dry-laid แล้วนำมาผ่าน เครื่องปักเข็ม (needle loom) เพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะและความแข็งแรงของแผ่นนอนวูฟเวนให้มากขึ้น


ต่อหน้า 2 

Tags : ขายส่งเสื้อยืด เสื้อยืดผู้ชาย เสื้อโฆษณา เสื้อคอกลม

view

บริการ

หน้าแรก
กระเป๋าขายส่ง
แผนที่ร้าน
รายละเอียดเสื้อ
โรงงานเสื้อยืด
โปรแกรมแยกสี
view